ข้อมูลสำคัญก่อนเดินทางไปสหรัฐอเมริกา

เครื่องคำนวณ

การลงทะเบียนและยื่นขอบัตรประกันสังคม

หากท่านต้องการทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ท่านจะต้องยื่นขอบัตรประกันสังคม หรือ “Social Security Card (SSC)” ซึ่งจะระบุหมายเลขประกันสังคมประจำตัวของท่าน หรือ “Social Security Number (SSN)” ท่านจะได้รับบัตรหลังจากลงทะเบียนที่สำนักงานประกันสังคมแล้ว ท่านจะต้องรีบลงทะเบียนทันทีที่ท่านเดินทางถึงสหรัฐอเมริกา ข้อมูลและเอกสารสำคัญที่ท่านจะต้องใช้ในการทำเรื่องยื่นขอ รวมไปถึงสถานที่และวิธีการทำเรื่อง ท่านสามารถสอบถามได้จากนายจ้างของท่าน หรือองค์กรที่ตอบรับท่านเข้าร่วมโครงการ Work and Travel ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.ssa.gov

“หมายเลขประกันสังคม (SSN)”

หมายเลขประกันสังคมมีทั้งหมด 9 หลัก เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในสหรัฐอเมริกา หมายเลขนี้จะมีอยู่ถาวร นายจ้างจะต้องใช้หมายเลขประกันสังคมนี้อ้างอิงในการจ่ายเงินเดือน, หักภาษี และแจ้งรายได้และการถูกหักภาษีของท่านต่อหน่วยจัดเก็บภาษีของสหรัฐอเมริกา

สิ่งสำคัญ: บางครั้งนายจ้างของท่านอาจใช้หมายเลขประกันสังคมชั่วคราวแทนหมายเลขของท่านก่อน ซึ่งหากนายจ้างของท่านลืมยื่นหมายเลขจริงของท่าน ท่านควรจะแจ้งเตือนนายจ้างของท่าน ทันทีที่ท่านได้รับหมายเลขประจำตัวของท่านแล้ว ตามข้อมูลของหน่วยจัดเก็บภาษีสหรัฐอเมริกานั้น การชำระภาษีเงินได้ไว้เกินมีสาเหตุมาจากปัจจัยนี้

การกรอกแบบฟอร์ม W-4

ก่อนที่ท่านจะเริ่มงาน นายจ้างของท่านจะให้ท่านกรอกแบบฟอร์ม W-4 (Employee’s Withholding Allowance Certificate) ซึ่งท่านจะต้องกรอกแบบฟอร์มนี้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนการเริ่มจ้างงาน ตามข้อมูลแล้ว ด้วยแบบฟอร์มนี้นายจ้างของท่านจะสามารถกำหนดจำนวนเงินที่จะถูกหักภาษีจากเงินเดือนของท่าน

ข้อควรจำ รายได้ของท่านจะถูกหักภาษีต่างจากประชากรสหรัฐฯ ดังนี้คำแนะนำในหน้าแรกของแบบฟอร์ม W-4 ไม่สามารถใช้กับท่านได้ “TAX GUIDE” จะช่วยให้ท่านกรอกแบบฟอร์ม W-4 ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์:

แบบฟอร์มตัวอย่าง:

พิมพ์แบบฟอร์ม W-4

ตามกฎหมายที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา พลเมืองที่ทำงานมีเงินได้ทุกคนต้องจ่ายภาษี ดังนั้น ภาษีเงินได้จะถูกหักจากเงินเดือนในงวดแรก ๆ อย่างไรก็ตาม กรุณาบันทึกและตรวจสอบภาษีที่ท่านถูกหักไปแล้วไว้ด้วย เนื่องจากว่าท่านไม่จำเป็นต้องเสียภาษีทุกประเภท

ประเภทของภาษีสหรัฐอเมริกา

• ภาษีเงินได้สหพันธรัฐ อัตราภาษีมีตั้งแต่ 10 ถึง 12% ของรายได้ที่ได้รับ และมีการบังคับใช้ในทุกรัฐ
• ภาษีเงินได้ของรัฐ อัตราภาษีมีตั้งแต่ 3 ถึง 6% ของรายได้ที่ได้รับ และมีการบังคับใช้ในทุกรัฐ ยกเว้น รัฐอลาสก้า รัฐฟลอริด้า รัฐเนวาด้า รัฐนิวแฮมเชียร์ รัฐเซ้าท์ดาโกต้า รัฐเทนเนสซี่ รัฐเทกซัส และรัฐไวโอมิ่ง
• ภาษีท้องถิ่น รัฐส่วนใหญ่ไม่มีการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น อย่างไรก็ตามภาษีนี้จะมีการจัดเก็บในบางแคว้นของบางรัฐเท่านั้น อัตราการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นไม่สูงและแตกต่างกัน
• ภาษีประกันสังคมและภาษีประกันสุขภาพ (SS, Medicare, FICA, OASDI) มีอัตราภาษี 7.65% ของรายได้ที่ได้รับ และมีการบังคับใช้ในทุกรัฐ

ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?

ผู้เข้าร่วมโครงการ Work & Travel, Internship และโครงการต่าง ๆ (ที่ถือวีซ่าประเภท J-1):

ต้องเสียภาษี:

• ภาษีเงินได้สหพันธรัฐ
• ภาษีเงินได้ของรัฐ
• ภาษีท้องถิ่น

ไม่ต้องเสียภาษี:

• ภาษีประกันสังคมและภาษีประกันสุขภาพ ถ้าท่านถูกนายจ้างหักภาษีนี้ ให้ท่านแจ้งนายจ้างเกี่ยวกับข้อมูลในประกาศของกรมสรรพากร บทความที่ 8 หน้า 48 ซึ่งอธิบายว่าท่านไม่จำเป็นต้องเสียภาษีนี้

ผู้เข้าร่วมโครงการอื่น ๆ (ผู้ถือวีซ่าประเภท H2B หรือกรีนคาร์ด) ต้องเสียภาษีทุกประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

เอกสารสำคัญที่ผู้เข้าร่วมโครงการควรเก็บรักษา

ระหว่างที่ท่านอยู่ในสหรัฐอเมริกา กรุณาเก็บเอกสารเหล่านี้และนำกลับมาด้วย

• บัตรประกันสังคม (ตัวอย่าง)
• สลิปเงินเดือนงวดสุดท้าย (ตัวอย่าง)

โดยปกติแล้วลูกจ้างในสหรัฐอเมริกาจะได้รับค่าแรงเป็นแคชเชียร์เช็ค พร้อมสลิปเงินเดือนประจำทุกสัปดาห์ หรือทุกสองสัปดาห์ ซึ่งในสลิปเงินเดือนจะระบุรายได้และภาษีที่ถูกหัก และควรจำไว้ว่าในสลิปเงินเดือนจะระบุข้อมูลของรายได้และภาษีที่ถูกหักรอบล่าสุด คือหนึ่งสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ตามรอบที่นายจ้างกำหนด (“รอบปัจจุบัน” หรือ “CURRENT”) รวมไปถึงข้อมูลรวมของรายได้และภาษีที่ถูกหักตลอดระยะเวลาจ้างงาน (“ยอดรวมทั้งปี” หรือ “Year to Date” หรือ “YTD”) ยอดเงินการขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินนั้นจะอ้างอิงจากยอดรวมทั้งปี “Year to Date” ดังนั้นกรุณาเก็บรักษาสลิปเงินเดือนงวดสุดท้าย และรวมไปถึงสลิปเงินเดือนก่อนงวดสุดท้ายสำหรับการจ้างงานทุกงาน

ในการจ้างงานทุกงานจะต้องได้รับสลิปเงินเดือนเสมอ ถึงแม้ว่านายจ้างจะไม่ได้เป็นผู้คำนวณภาษีเงินได้เองก็ตาม เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแจ้งยอดภาษีที่ถูกหักและรายได้ตลอดทั้งปีต่อกรมสรรพากรสหรัฐอเมริกา

หากท่านได้รับค่าจ้างผ่านทางบัญชีธนาคารโดยตรง และไม่ได้รับสลิปเงินเดือนจากนายจ้างของท่าน หรือในสลิปเงินเดือนไม่มีระบุ “ยอดรวมทั้งปี” หรือ “Year to Date” ท่านต้องมีแบบฟอร์ม W-2 จากนายจ้างของท่านเพื่อดำเนินการยื่นขอภาษีของท่านคืน

• แบบฟอร์ม W-2 (ตัวอย่าง)

แบบฟอร์มนี้จะถูกออกให้โดยนายจ้างหลังสิ้นปีภาษี (วันที่ 31 ธันวาคม) แบบฟอร์มนี้จะระบุของมูลทั้งหมดเกี่ยวกับรายได้และภาษีที่ถูกหักไว้ของท่านในระหว่างปีภาษีที่ท่านถูกจ้างงาน (วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม) แบบฟอร์ม W-2 จะถูกออกให้โดยนายจ้างของท่านหลังสิ้นปีภาษี นั่นก็คือวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี

ดังนั้น มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ท่านควรต้องแจ้งที่อยู่ถาวรในประเทศบ้านเกิดของท่าน ไม่ใช่ที่อยู่ชั่วคราวในสหรัฐอเมริกา เมื่อท่านกรอกแบบฟอร์ม W-4 ก่อนที่ท่านจะเริ่มงาน ท่านอาจจะเลือกใช้แบบฟอร์ม W-4 ของเราซึ่งมีระบุที่อยู่ของบริษัทเราไว้ก็ได้ ในกรณีนี้เราจะเป็นผู้ได้รับแบบฟอร์ม W-2 ของท่าน เมื่อเราได้รับแบบฟอร์มนี้แล้ว เราจะติดต่อ่านและเริ่มต้นขั้นตอนการขอคืนภาษีให้กับท่าน

หลังจากสิ้นสุดการทำงานของท่าน ท่านควรตรวจสอบให้แน่ใจกับนายจ้างว่ามีที่อยู่ถาวรในประเทศบ้านเกิดของท่านหรือที่อยู่ของบริษัทเราเรียบร้อยแล้ว ในกรณีนี้เราควรจะได้รับแบบฟอร์ม W-2 ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธุ์ของปีถัดไป

ท่านสามารถขอให้นายจ้างของท่านส่งสำเนาแบบฟอร์ม W-2 ให้ท่านทางอีเมล์ ด้วยเหตุนี้จะทำให้ท่านมั่นใจได้ว่าท่านจะมีแบบฟอร์ม W-2 ที่ท่านสามารถใช้ทางออนไลน์ได้เลยสำหรับการขอคืนเงินภาษี

บางบริษัทใช้ระบบอิเล็คทรอนิคในการจ่ายเงินเดือน ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และภาษีที่ถูกหักจะสามารถตรวจสอบได้ทางอินเตอร์เน็ท เพียงแค่ท่านใส่ข้อมูลล็อคอินและรหัสผ่านของท่าน หากนายจ้างของท่านแนะนำให้ท่านทำวิธีนี้ สิ่งที่สำคัญคือท่านควรจะเก็บรักษาข้อมูลรหัสผ่านและล็อคอินของท่านไว้ เมื่อถึงสิ้นปีภาษีท่านสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อพิมพ์แบบฟอร์ม W-2 ได้เอง

แบบฟอร์ม DS-2019 (ตัวอย่าง)

ผู้เข้าร่วมโครงการ “Work & Travel”, “Internship” ทุกคนต้องมีแบบฟอร์ม DS-2019 ซึ่งออกให้โดยองค์กรผู้สนับสนุนในประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนที่ท่านจะยื่นขอวีซ่า แบบฟอร์มนี้สำคัญสำหรับการขอคืนภาษีประกันสังคมและภาษีประกันสุขภาพ